ข้อตกลงทางวิชาการ (Academic Agreement) หมายถึง ข้อตกลงระหว่างมหาวิทยาลัย
และระดับ คณะ/สถาบันการศึกษาหรือองค์กรระหว่างประเทศ เป็นข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในด้านต่างๆ โดยทั่วไปแล้วข้อตกลงทางวิชาการสามารถจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบได้แก่
1.1. ข้อตกลงทางวิชาการระดับมหาวิทยาลัย (MOU) หรือ บันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding ซึ่งโดยทั่วไปเรียกว่า MOU) หรือ สัญญากลาง หรือ ข้อตกลงกลางระดับมหาวิทยาลัยซึ่งระบุว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสถาบันการศึกษาต่างประเทศจะพัฒนาความร่วมมือทาง วิชาการร่วมกันในด้านต่างๆ โดยกำหนดระยะเวลาไว้ไม่เกิน 5 ปี ผู้มีอำนาจลงนามใน MOU คือ อธิการบดีหรือผู้ได้รับมอบอำนาจของทั้งสองมหาวิทยาลัย
1.2. ภาคผนวกต่อท้ายข้อตกลงทางวิชาการ (Addendum) หรือ ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเฉพาะด้านระดับมหาวิทยาลัย (Specific Agreement) หรือ ข้อตกลงแลกเปลี่ยนนักศึกษา (Student Exchange Agreement) ในกรณีที่มีการลงนามในข้อตกลงฯ เรียบร้อยแล้ว และคู่สัญญาสามารถตกลงในรายละเอียดได้ว่าจะเริ่มดำเนินกิจกรรมด้านใดโดย เฉพาะและ/หรือในรูปแบบใด โดยมีนักศึกษา อาจารย์จากหลายหน่วยงานในแต่ละมหาวิทยาลัยสนใจเข้าร่วมกิจกรรมตามข้อตกลง เฉพาะด้านนี้ มหาวิทยาลัยทั้งสองจะจัดทำภาคผนวกต่อท้ายข้อตกลงทางวิชาการ (Addendum) หรือ ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเฉพาะด้านระดับมหาวิทยาลัย (Specific Agreement) หรือ ข้อตกลงแลกเปลี่ยนนักศึกษา (Student Exchange Agreement) ผู้มีอำนาจลงนามคือ อธิการบดีหรือผู้ได้รับมอบอำนาจเพื่อนาไปดาเนินกิจกรรมตามที่ได้ระบุไว้ใน ภาคผนวกฯ ต่อไป
1.3. ข้อตกลงทางวิชาการระดับคณะหรือระดับหน่วยงาน หรือ สัญญาคณะ/หน่วยงาน ในกรณีที่คณะใดคณะหนึ่งมีความพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมทางวิชาการร่วมกับคณะ ใดคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยต่างประเทศและสามารถจะตกลงกันได้ในรายละเอียดก็ สามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนการจัดทาข้อตกลงทางวิชาการที่ มหาวิทยาลัยกำหนดไว้
ผู้มีอำนาจลงนาม คือ อธิการบดี และอธิการบดีมอบอำนาจให้คณบดีของคณะนั้นๆ ลงนามต่อไป เนื่องจากคณะหรือหน่วยงานนั้นๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบหรือดาเนินกิจกรรมวิชาการตามรายละเอียดตามข้อตกลงฯ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่มีข้อตกลงระดับคณะ มหาวิทยาลัยจะเสนอให้จัดทำข้อตกลงทางวิชาการระดับมหาวิทยาลัยควบคู่ไปด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ นักศึกษาจากคณะอื่นได้มีส่วนร่วมในข้อตกลงและระบุระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี กรณีที่ข้อตกลงระดับคณะเป็นการตกลงร่วมกัน (Combined Agreement) ระหว่างคณะ หนึ่งคณะใดของมหาวิทยาลัยคู่สัญญากับคณะหนึ่งหรือหลายคณะในมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ ผู้มีอำนาจลงนามคืออธิการบดีหรือผู้ได้รับมอบอำนาจและคณบดีของคณะที่เกี่ยว ข้องลงนามร่วมกัน
ภาคเหนือ
วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาคคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
ภาคกลาง
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สมาคมเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์